บริการรับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา กิจการใดได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม?

บริการรับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา กิจการใดได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม?

บริการรับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา กิจการใดได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม?

ข้อมูลดี ๆ จากบริการรับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา กิจการใดบ้างได้รับการยกเว้นภาษี VAT

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือที่คุ้นกันในชื่อของ VAT คือ ประเภทของภาษีที่ดำเนินการจัดเก็บโดยกรมสรรพากร เป็นกลุ่มภาษีที่ถูกเก็บจากมูลค่าของสินค้า / บริการต่าง ๆ ภายในประเทศ การนำเข้าสินค้า หรือนำเข้าบริการเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศไทยามกฎหมายประมวลรัษฎากร ซึ่งปัจจุบันอัตราการเก็บ VAT จะอยู่ที่ 7% ของมูลค่าสินค้า แบ่งเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม 6.3% และภาษีท้องถิ่น 0.7% สำหรับคนที่ทำธุรกิจมานานหรือศึกษาเรื่องธุรกิจน่าจะพอเข้าใจกันอยู่ในระดับหนึ่ง แต่สำหรับคนที่ยังไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ อาจเคยใช้บริการรับยื่นภาษีบุคคลธรรมดาในทุก ๆ ปี หรือทำธุรกิจแต่ใช้บริการรับยื่นภาษีโดยสำนักงานบัญชีมาตลอด แล้วเกิดข้อสงสัยว่ามีธุรกิจใดหรือไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มบ้าง ลองมาเช็กลิสต์ข้อมูลกันได้เลย

ก่อนจะไปพูดถึงกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มหลายคนอาจสงสัยว่ามีบริการรับยื่นภาษีบุคคลธรรมดาอยู่ด้วยจริงหรือไม่? คำตอบคือมีอยู่จริงเป็นบริการสำหรับคนที่ไม่ได้ให้บริษัทที่ตนเองทำงานอยู่เป็นผู้ยื่นให้ หรือคนทำกิจการส่วนตัวเล็ก ๆ ทำงานฟรีแลนซ์ มีรายได้เข้าหลายทาง ไม่สะดวกในการคำนวณด้วยตนเอง หรือกังวลใจเรื่องความยุ่งยากก็สามารถใช้บริการดังกล่าวได้ รวมถึงการรับยื่นภาษีประเภทอื่น ๆ เช่น ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างก็มีอยู่ด้วยเช่นกัน คราวนี้มาพูดถึงกลุ่มกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในเมืองไทยแบ่งออกได้ ดังนี้

เช็กลิสต์กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

จากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาไม่ว่าคุณจะเคยใช้บริการรับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา หรือบริการรับยื่นภาษีประเภทใดก็ตาม หากทำธุรกิจที่เข้าข่ายกิจการดังต่อไปนี้จะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. กิจการขายสินค้า / บริการทุกประเภททั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 1.8 ล้านบาท
  2. กิจการขายพืชผลด้านการเกษตรเฉพาะในราชอาณาจักรไทย เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว
  3. กิจการขายสัตว์ทั้งแบบมีชีวิตและไม่มีชีวิตเฉพาะในราชอาณาจักรไทย เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู สัตว์เลี้ยง
  4. กิจการขายอาหารสัตว์ ขายปลาป่น
  5. กิจการขายปุ๋ย
  6. กิจการขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือเรียน
  7. กิจการขายยา เคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ต้องใช้กับสัตว์หรือพืชเพื่อป้องกันการถูกทำลายจากโรค วัชพืช รวมถึงใช้เพื่อบำรุงให้เติบโต
  8. กิจการนำเข้าสินค้าที่มีความหมายเดียวกับข้อ 2-7
  9. กิจการบริการด้านการขนส่งเฉพาะในราชอาณาจักรไทยไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ อย่างไรก็ตามสำหรับกิจการที่มีการขนส่งโดยอากาศยานและการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงผ่านท่อ สามารถเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
  10. กิจการบริการด้านการศึกษาซึ่งเป็นสถานศึกษาของราชการ สถานศึกษาเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
  11. กิจการบริการด้านการขนส่งทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศซึ่งไม่ใช่การขนส่งด้วยเรือเดินทะเล
  12.  กิจการบริการด้านห้องสมุด สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์
  13. กิจการบริการด้านการรักษาพยาบาลทั้งสถานพยาบาลราชการและเอกชน
  14. กิจการบริการเกี่ยวกับการประกอบโรคทางศิลปะ เช่น คลินิกทันตกรรม การว่าความ การสอบบัญชี การรักษาสายตา เป็นต้น
  15. กิจการบริการจัดแข่งขันกีฬาแบบสมัครเล่น
  16. กิจการบริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น เช่าหอพัก เช่าห้องพัก Service Apartment แต่ไม่รวมรายได้อื่นของอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเฟอร์นิเจอร์ ค่าอินเทอร์เน็ต
  17. กิจการบริการของนักแสดงสาธารณะ
  18. กิจการบริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
  19. กิจการบริการผลงานทางศิลปะและวัฒนธรรมภายใต้สาขาและลักษณะกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
  20. กิจการขายสินค้าให้กับราชการและส่งรายรับทั้งหมดให้ภาครัฐโดยไม่หักค่าใช้จ่าย
  21. กิจการบริการสีข้าว
  22. กิจการขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อาการ และแสตมป์อื่น ๆ ของรัฐเฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้
  23. กิจการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลของรัฐ สลากออมสิน และสลากบำรุงสภากาชาดไทย
  24. กิจการขายบุหรี่ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบโดยผู้ขายเป็นบุคคลอื่นไม่ใช่โรงงานยาสูบ
  25. กิจการขายสินค้า / บริการเพื่อประโยชน์ทางศาสนา สาธารณกุศลในราชอาณาจักรไทย และไม่นำผลกำไรไปจ่ายทางอื่น
  26. กิจการบริการด้านวิจัยหรือด้านวิชาการซึ่งต้องเป็นลักษณะการประกอบธุรกิจตามที่กรมสรรพากรกำหนด
  27. กิจการให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่นไม่รวมบริการด้านพาณิชย์ หรือหารายได้ ผลประโยชน์ไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม
  28. การบริจาคสินค้ากับโรงพยาบาล สถานศึกษาราชการ องค์กรสาธารณกุศล และอื่น ๆ ตามที่มีประกาศกำหนด

อย่างไรก็ตามสำหรับกิจการข้อ 1-7 หากจะนำธุรกิจเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถดำเนินการได้แบบเดียวกับธุรกิจประเภทอื่น ๆ

ทั้งหมดนี้คือกลุ่มประเภทกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือไม่ต้องทำการจ่าย VAT ซึ่งจะเห็นว่าทุกธุรกิจต้องดำเนินการตามข้อกำหนดที่ภาครัฐระบุเอาไว้เท่านั้น ส่วนธุรกิจอื่น ๆ เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดคือ 1.8 ล้านบาท / ปี ต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและดำเนินการจ่ายภาษี VAT แบบไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งใครที่พึ่งเริ่มทำธุรกิจหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการยื่นภาษีประเภทต่าง ๆ “Visualize Accounting” สำนักงานบัญชีมืออาชีพ ผู้ให้บริการรับทำบัญชี ปิดงบบัญชี จดทะเบียนบริษัท รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา รับยื่นภาษีทุกประเภท ประสบการณ์มากกว่า 10 ปี พร้อมเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์อย่างมาก ดำเนินการโดยนักบัญชีรุ่นใหม่ ทำงานรวดเร็ว ถูกต้องตามกฎหมาย

Visualize Accounting
มุ่งมั่นที่จะให้บริการอย่างมีคุณภาพและราคาที่ยุติธรรมเพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างยั่งยืน

สนใจ รับทำบัญชีแม่ค้าออนไลน์ รับจดทะเบียนบริษัท รับปิดงบเปล่า
รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา รับทำบัญชี และ อื่น ๆ ครบวงจร ครบ จบ ที่นี่ที่เดียว

ติดต่อ visualize accounting
Email: info@visualize-accounting.com
Mobile: 02-809-8999, 085-081-9999
Line: @VISUALIZE.AC

Tags: No tags

Comments are closed.