ข้อควรรู้ในการจดทะเบียนบริษัท ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติ

ข้อควรรู้ในการจดทะเบียนบริษัท ที่มีผู้ถือหุ้นเป็นชาวต่างชาติ

จดทะเบียนบริษัท ที่มีผู้ถือหุ้นชาวต่างชาติต้องทำอย่างไร

เศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วของประเทศไทยทำให้มีนักลงทุนชาวต่างชาติหันมาสนใจและมองหาโอกาสในการลงทุนในประเทศไทยเพื่อมองหาตลาดใหม่ ๆ ประเทศไทยมีทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ แรงงานที่มีทักษะสูง ฐานความต้องการของผู้บริโภคที่ค่อนข้างกว้าง และมีนโยบายรัฐที่สนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติ ดังนั้นการประกอบธุรกิจในไทยจึงมีทั้งข้อดี และสร้างโอกาสมากมายให้แก่นักลงทุน

สำหรับชาวต่างชาติที่สนใจเริ่มธุรกิจในประเทศไทย การเข้าใจข้อมูลและกระบวนการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการจดทะเบียนเพื่อเริ่มธุรกิจที่อาจดูซับซ้อนและใช้เวลาค่อนข้างมากแต่หากมีการเตรียมพร้อมที่ดี และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ การเปิดบริษัทสำหรับชาวต่างชาติก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป

ในวันนี้เราจะมาพูดถึงกรณีที่ชาวต่างชาติที่ต้องการทำธุรกิจและถือหุ้นในประเทศไทย จะต้องทำอย่างไร และมีข้อกำหนดอะไรบ้าง เรามีข้อมูลและข้อแนะนำให้กับผู้ศึกษาและชาวต่างชาติที่สนใจจะทำธุรกิจและจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย ธุรกิจที่ชาวต่างชาติได้รับอนุญาต ได้แก่

  1. บริการออกแบบด้านวิศวกรรม จัดหา ก่อสร้าง ติดตั้ง และทดสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆสำหรับโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตน้ำยาวอะคริลิก
  2. บริการออกแบบสร้างภาพกราฟฟิก และสร้างแบบจำลอง 3 มิติ สำหรับใช้ในการตกแต่งแบบจำลองภายนอกและภายในอาคาร
  3. บริการเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Services) ประเภทย่อยบริการระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นการให้บริการแพลตฟอร์ม สำหรับการทำ Digital Marketing ระหว่างเจ้าของสินค้า/ร้านค้า
  4. บริการวิจัย พัฒนา ติดตั้ง ปรับปรุง และบำรุงรักษาโปรแกรมคอมพิวพ์เตอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ เป็นต้น

โดยรัฐบาลไทยได้แบ่งธุรกิจที่ห้ามไม่ให้ชาวต่างชาติทำในประเทศไทยโดยเด็ดขาด มี 3 ประเภทดังนี้

ประเภทที่ 1 ธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจ ด้วยเหตุผลพิเศษ

ประเภทที่ 2 ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม

ประเภทที่ 3 ธุรกิจที่คนไทยไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว

หากต้องการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ถือหุ้นที่ได้รับการเสนอชื่อ ในขณะที่ยังสามารถมีส่วนร่วมในการควบคึมธุรกิจได้โดยตรง

เมื่อทราบถึงประเภท รายละเอียด และข้อกำหนดแล้ว ต่อมาเรามาดูกันว่าการเปิดบริษัทต่างด้าวมีขั้นตอนอย่างไร บริษัทต่างด้าวมีขั้นตอนการดำเนินการจัดตั้งที่ยุ่งยาก ซับซ้อน และค่าธรรมเนียมสูงกว่าการจัดตั้งบริษัททั่วไป เราจึงได้สรุปขั้นตอนคร่าวๆในการยื่นขอจดบริษัทต่างด้าว ดังนี้

การขอประกอบธุรกิจ

  • หากเป็นธุรกิจในประเภทที่ 2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติ โดยจะพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน และสามารถขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปได้อีกไม่เกิน 60 วัน
  • เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบและดำเนินการออกใบอนุญาตภายใน 15 วัน
  • หากเป็นธุรกิจในประเภทที่ 3 กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะทำสรุปเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อขอความเห็นชอบ โดยการพิจารณาอนุญาตต้องแล้วเสร็จภายใน 60 วัน
  • เมื่อคณะกรรมการเห็นชอบแล้วกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะแจ้งผลการพิจารณ่ให้ทราบและดำเนินการออกใบอนุญาตภายใน 15 วัน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะประกอบธุรกิจได้

กรณีไม่อนุญาตจะแจ้งผลให้ทราบภายใน 15 วัน โดยระบุเหตุผลที่ไม่อนุญาตและมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายใน 30 วัน ซึ่งสามารถทำเป็นหนังสือยื่นได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า การพิจารณาคำขออุทธรณ์ใช้เวลา 30 วันโดยคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด

ระยะเวลาดำเนินการ

รวมระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 3-6 เดือน หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับความพร้อมของบริษัทและการลำดับคิวการพิจารณาเพื่ออนุมัติและออกใบอนุญาตของคณะกรรมการ

ส่วนการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติมี 2 กรณี

กรณีที่ 1 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติไทย คือ คนไทย ถือหุ้นอย่างน้อย 51% และคนต่างชาติ ถือหุ้นไม่เกิน 49 % โดยสามารถประกอบธุรกิจได้ทุกอย่างตามที่กฎหมายกำหนด

กรณีที่ 2 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติอื่น คือ คนต่างชาติ ถือหุ้น 50-100% จะต้องขอเป็นใบประกอบธุรกิจต่างด้าวแทน

กรณีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนหรือในกรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียนแต่คนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจในการทำการแทนบริษัทจำกัด ให้ผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนส่งหลักฐานที่มาของเงินลงทุนสอดคล้องกับเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละรายอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  • สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือนหรือ
  • เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองฐานะการเงินของผู้ถือหุ้นหรือสำเนาเอกสารแสดงหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้น

กรณีที่กรรมการต่างชาติมีอำนาจลงนามในคำขอจดทะเบียนให้แนบสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการท่านนั้นมาเป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียน

ตัวอย่างหนังสือรับรองเงินในบัญชีเงินฝาก

หากท่านไหนสนใจหรือชาวต่างชาติต้องการความช่วยเหลือในการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย สามารถติดต่อสอบถามหรือใช้บริการสำนักงานบัญชีหรือที่ปรึกษาทางกฎหมายได้ที่ Visualize Accounting

Visualize Accounting สำนักงานบัญชี บริการด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านบัญชีและการเงิน รับทำบัญชี ปิดงบบัญชี รับปิดงบเปล่า รับตรวจสอบบัญชี รับทําบัญชีแม่ค้าออนไลน์ จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัทออนไลน์ จดทะเบียนหจก จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด company registration รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา พร้อมให้คำปรึกษาวิเคราะห์ธุรกิจของคุณอย่างละเอียด เพื่อวางแผนการทำงานอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ

Visualize Accounting
มุ่งมั่นที่จะให้บริการอย่างมีคุณภาพและราคาที่ยุติธรรมเพื่อให้ธุรกิจของคุณเติบโตอย่างยั่งยืน

สนใจ รับทำบัญชีแม่ค้าออนไลน์ รับจดทะเบียนบริษัท รับปิดงบเปล่า
รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา รับทำบัญชี และ อื่น ๆ ครบวงจร ครบ จบ ที่นี่ที่เดียว

ติดต่อ visualize accounting
Email: info@visualize-accounting.com
Mobile: 02-809-8999, 085-081-9999
Line: @VISUALIZE.AC

Shopping Basket